1. โรคจุดขาว
(lch.white spot disease)
อาการ ปลาจะมีจุดขาว ๆ
ขนาดเล็กประมาณ0.5-1.00มม.
ปรากฎขึ้นตามลำตัวครีบและเหงือก
แล้วเพิ่มมากขึ้นเรื่อย
ๆ จนเห็นชัดเจน
ลักษณะการว่ายจะแกว่งลำตัวไปมาและพยายามจะถูลำตัวกับพื้นก้อน
หินหรือต้นไม้น้ำ
เพื่อให้จุดขาวเหล่านี้หลุดออกไปเมื่อมีอาการดังกล่าวมาแล้วจะไม่ค่อยยอมกินอาหารปลาบาง
ชนิดจะลอยคอขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำหรือบางชนิดจะซุกตัวอยู่ตามมุมนิ่ง
ๆ สำหรับปลาที่มีสีอ่อนจะสังเกตุยาก
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำชนิดหนึ่งชื่อ
lchthyophthirius sp.
มีขนาดเล็กเกาะอยู่เชื้อ
นี้จะขยายพันธุ์อยู่บนผิวของปลาที่สุขภาพอ่อนแอ
(อาการอ่อนแอนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ของน้ำมาก ๆ )
วิธีป้องกันและรักษา
-พยายามรักษาระดับอุณหภูมิของน้ำให้สม่ำเสมอ
อย่าให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน
-ควรแยกปลาออกมากักโรคได้ก็จะเป็นการดี
-โรคนี้สามารถรักษาด้วยการใช้ตัวยาเคมีบางชนิดกำจัดเชื้อได้
|
2.
โรคเชื้อรา (Fugas Disease)
อาการ
มีลักษณะคล้ายก้อนสำลีบาง
ๆ
เกาะติดอยู่ตามผิวหรือปากปลา
หากเป็นมาก ๆ อาจตาย
ได้ภายใน 5-7 วัน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
Saprolegniasis และ Achlyasis
เกาะอยู่ตามบริเวณบาดแผลของผิว
หรือปากปลา
อาการบาดแผลเหล่านี้จะเกิดจากการถูกขีดข่วนแล้วไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
เชื้อรานี้จะค่อย ๆ
กินลึกลงไปในเนื้อปลาหากไม่รีบรักษาอาจทำให้ปลาตาย
วิธีป้องกันและรักษา
-แยกปลาที่เป็นโรคออกมาไว้ต่างหาก
-แช่ปลาลงในน้ำประมาณ 10ลิตรต่อเกลือ
2ขีด
แล้วเช็ดเชื้อราด้วยสำลีออกให้หมดและทาด้วยยา
Malachite green หรือ Furazone green
บริเวณที่เป็นแผล
-ขณะจับปลาหรือลำเลียงปลาควรกระทำด้วยความระมัดระวัง
หากเป็นแผลหรือบอบช้ำควรรีบ
รักษา
เพราะจะทำให้เกิดเชื้อโรคได้ง่าย
|
3.
โรคเสียการทรงตัว (Air bladder
disease)
อาการ
ลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้ายลำตัวบิดไปมา
แทนที่จะสบัดหางอย่างเดียวปลามักจะจม
อยู่ก้นตู้
ครีบทุกครีบจะกางออก
เวลาว่ายจะไม่สามารถหยุดตัวเองได้
จึงทำให้เกิดการชนตู้อยู่บ่อย
ๆ ถ้ามีอาการ
มากบางครั้งจะหงายท้องลอยอยู่บนผิวน้ำ
แต่ก็จะพยายามกลับตัวให้ลอยตามปกติ
หากกลับไม่ได้บ่อยครั้งก็จะ
ตายไปในที่สุด
สาเหตุ
เกิดจากการกินอาหารมากจนเกินไป
กระเพาะอาหารย่อยอาหารไม่ทัน
อาหารเหล่านี้ก็จะไปกด
กระเพาะลมที่ใช้ในการทรงตัวให้พองขึ้นไม่เท่ากัน
ทำให้เสียการทรงตัว
วิธีป้องกันและรักษา
-โดยใช้ดีเกลือฝรั่ง 1 cc.ต่อน้ำ
1ลิตรแต่ไม่รับรองผลการรักษา
เพราะโรคนี้เป็นแล้วหายยากมาก
แม้หายแล้วลักษณะการว่ายก็ไม่เหมือนปกติ
-ยารักษาโรคนี้ยังไม่มี
ควรสนใจดูแลเรื่องการให้อาหารให้พอเหมาะกับความต้องการของปลา
|
4. โรคเกล็ดพอง (Scale protrusion)
อาการ
เกล็ดตามตัวของปลาจะตั้งอ้าออก
ลำตัวจะบวมพอง
ตามฐานของซอกเกล็ดจะมีลักษณะ
ตกเลือด
ส่วนมากจะไม่ยอมกินอาหารและจะลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำแล้วก็ตายไปในที่สุด
สาเหตุ
เชื้อที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวคือ
เชื้อแบคทีเรีย และโปรโตรซัวบางชนิด
เช่น Aeromonas
hydrophila และ Glossatella sp.
วิธีป้องกันและรักษา
-สามารถรักษาได้ในอาการเริ่มแรกเท่านั้น
ด้วยยาปฏิชีวนะและสารเคมีบางชนิด
-ควบคุมอาหารประเถทโปรตีนให้ลดน้อยลง
-ควรดูแลสภาพน้ำและสภาพแวดล้อมภายในตู้ให้สะอาด
เปลี่ยนถ่ายน้ำตามกำหนดเวลาเสมอ
|
5. โรคเห็บ (Argulus disease)
อาการ
ลักษณะมีเม็ดกลมแบนใส ๆ
เกาะอยู่ตามลำตัวปลา
ลักษณะ
การว่ายน้ำจะผิดปกติ
ชอบถูลำตัวกับพื้น
ก้อนหินหรือไม้น้ำ
การกินอาหารน้อยลง
แล้วถ้าอาการมากขึ้นจะไม่ยอมว่ายไปมา
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Argulus
sp. ทำให้ลำตัวจะมีรอยแดง
เมื่อตรวจดูจะเห็นเห็บเกาะแน่น
ลีกษณะคล้ายจานแบน ๆ
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
5-10มม.
มีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อนแกมเขียวและ
น้ำตาล
มีอวัยวะคล้ายเหล็กใน
(Sting)
แทงเข้าไปในใต้ผิวหนังของปลาเพื่อดูดเลือดหรือของเหลวในเนื้อ
เยื่อใต้ผิวหนังปลาเป็นอาหาร
บริเวณปากจะมีต่อมพิษเพื่อปล่อยสารพิษมาทำอันตรายต่อปลา
วิธีป้องกันและรักษา
-ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกต่างหาก
-รักษาโรคโดยวิธีใช้สารเคมี
-ควรกักโรคปลาใหม่ก่อนที่จะใส่ปลาลงในตู้หรือบ่อปลา
-ควรระมัดระวังเรื่องน้ำและอาหารเพราะโรคเห็บสามารถแอบแฝงมากับน้ำหรือ
อาหาร เช่น ลูกน้ำ
|
6. โรคหนอนสมอ (Lerneosis)
อาการ
ปลาจะมีอาการซึมลง
ผอมแห้งกระพุ้งแก้มเปิดอ้า
บริเวณผิวหนัง
ปากและครีบจะมีรอย
สีแดงเป็นจ้ำ ๆ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Lernaea
sp. รูปร่างเพรียวยาวขนาด
6-12มม. กว้าง 0.5-1.2มม. โรคนี้
จะเกิดกับปลาน้ำจืดทั่ว
ๆ ไป แทบทุกชนิด
หนอนสมอจะใช้ส่วนหัว
และอกฝังในเนื้อเยื่อตามผิวหนังปลา
และ
จะยื่นส่วนท้ายของลำตัวที่เป็นทรงกระบอกออกมานอกผิวปลา
วิธีป้องกันและรักษา
-ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกต่างหากเพราะเป็นโรคติดต่อกันได้แต่ไม่ร้ายแรงนัก
-รักษาโดยการใส่สารเคมีบางชนิด
-ควรกักโรคปลาที่จะนำมาใส่ใหม่ก่อนที่นำลงสู่ตู้หรือบ่อปลา
-หนอนสมออาจแอบแฝงมากับน้ำหรืออาหารที่จะให้ปลา
เช่น ลูกน้ำ
|
7. โรคพลิสโตฟอโรซิส (Plistophorosis)
อาการ
ลักษณะของลำตัวปลาและเหงือกจะซีดขาว
ว่ายน้ำตะแครงข้าง
การทรงตัวผิดปกติ ผอม
แห้ง
ชอบแยกตัวออกจากกลุ่ม
และจะตายไปในที่สุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งคือ
Plistophora sp.
ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปลานีออน
(Neon tetra)
บางครั้งมีผู้เรียกชื่อโรคนี้ว่า"โรคนีออนเตตร้า"
วิธีป้องกันและรักษา
-ยาที่ใช้รักษายังไม่มี
-ตักปลาที่เป็นโรคนี้ออกทันที
เพราะสามารถติดต่อกันได้
|
8. โรคพยาธิภายใน (Internal
parasites)
อาการ
หากปลาเป็นโรคพยาธิภายในแล้ว
จะเกิดอาการผอมแห้ง
ไม่ยอมกินอาหารตามปกติ
และ
เป็นโอกาสให้เชื้อโรคชนิดอื่นเข้ามาแทรกซ้อนได้
สาเหตุ
เกิดจากได้รับเชื้อโรคกลุ่มหนึ่งคือ
พยาธิใบไม้ (Digenetic trematode)
พยาธิหัวหนาม
(Acanthocephalus) พยาธิตัวกลม (Nematode)
และพยาธิตัวแบน (Cestode)
ซึ่งส่วนมากจะพบในปลา
ที่ชอบกินปลาอื่นเป็นอาหาร
วิธีป้องกันและรักษา
-รักษาโดยการใช้ยาถ่ายพยาธิในกรณีที่เชื้อพยาธิอยู่ในท่อทางเดินอาหารเท่านั้น
หากเชื้อพยาธิอยู่
ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อการรักษาจะไม่ค่อยได้ผล
|
9. รอยขีดข่วนและบาดแผล
(Cuts and Abraision)
อาการ จะมีรอยขีดข่วน
ครีบฉีกหรือแหว่ง
บางครั้งก็อาจหลุดหายไป
สาเหตุ
เกิดจากการขีดข่วนของตะแกรงที่ใช้ช้อนปลาหรือเกิดจากปลาว่ายไปชนกับวัตถุแหลมคม
ภายในตู้ปลา
และอาจเกิดจากการกัดกันเองของปลาได้
วิธีป้องกันและรักษา
-หากพบปลาที่มีอาการดังกล่าว
ควรรีบแยกนำมารักษาทันที
เพราะจะทำให้เป็นโอกาสที่เชื้อโรคอื่นจะ
แทรกซ้อน
-ควรใช้ยาแดง (Mercurochrome)
หรือครีมยาปฎิชีวนะทาบริเวณแผลจนกว่าจะหายเป็นปกติ
|
10. โรคครีบและหางเน่า (Fin
and Tail Rot)
อาการ
ที่ครีบและปลายหางจะมีสีคล้าย
ๆ สีขาวขุ่น แล้วจะค่อย
ๆ ลามไปยังบริเวณอื่น ๆ
หากมี
อาการมากเนื้อบริเวณหางจะหลุดหายไป
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดซึ่งมีสาเหตุมาจากการหมักหมมของน้ำ
อาหารหรือขี้ปลา
กันเป็นเวลานาน ๆ
วิธีป้องกันและรักษา
-รักษาด้วยสารเคมีบางชนิด
-พยายามถ่ายน้ำและทำความสะอาดตู้ปลาตามกำหนดเวลาเสมอ
|
11. โรคหวัด (Cold)
อาการ
ผิวของปลาจะมีวุ้นสีขุ่นบาง
ๆ ไปทั้งตัว
และบนผิวจะมีเส้นเลือดขึ้น
(Blood shot)
สาเหตุ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำโดยฉับพลัน
เช่นการนำปลาใหม่มาใส่ในตู้
หรือการ
ถ่ายน้ำภายในตู้ปลา
ซึ่งน้ำที่นำมาถ่ายใส่อาจมีอุณหภูมิแตกต่างกับน้ำในตู้
ปลาที่ไม่แข็งแรงจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย
วิธีป้องกันและรักษา
-ใช้ยาปฎิชีวนะรักษาได้
-พยายามรักษาอุณหภูมิของน้ำให้ใกล้เคียงกัน
-ก่อนใส่ปลาใหม่ลงตู้
ควรปรับอุณหภูมิของน้ำให้ใกล้เคียงกัน
|
12.
โรคว่ายหมุนเป็นวงกลมไม่หยุด
(Whirling Disease)
อาการ
ลักษณะการว่ายของปลาจะเหมือนกับการวนเวียนรอบ
ๆเสา
เป็นรูปวงกลมไม่หยุด
หากหยุดว่ายปลาจะไม่มีลักษณะผิดปกติอื่น
ๆ เลย แต่จะไม่โต
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อ
Lentospora Cerebalis
มาเกาะอาศัยอยู่บนส่วนหัวกระโหลก
และเจาะเข้าถึงสมองส่วนที่บังคับการทรงตัวของปลา
ทำให้ปลามีอาการว่ายหมุนเป็นวงกลมไม่หยุด
วิธีป้องกันและรักษา
-นำปลาที่เป็นโรคนี้ออกมาทำลายทันทีเพราะจะทำให้ติดต่อไปยังปลาตัวอื่น
-เชื้อจุลินทรีย์นี้มักอาศัยอยู่ในน้ำ
และไส้เดือน
ฉะนั้นจึงต้องทำความสะอาดให้ดี
-ยารักษาโรคชนิดนี้ยังไม่มี
|
13. โรคสันหลังหัก (Spinal Paralysis)
อาการ
ลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้าย
เมื่อสังเกตดูใกล้ ๆ
จะพบว่าลำตัวจะคดหรือลำตัว
แข็งทื่อ
พอจะว่ายได้บางครั้งลำตัวคดในแนวตั้งคือ
หางกระดกขึ้นมา
ปลาจะมีอายุอยู่ต่อไปอีกหลายปี
ไม่ตายในทันที
สาเหตุ -เกิดจากการให้สารเคมีบางชนิดมากเกินไป
-จากการโดนไฟฟ้าช็อต
หรือฟ้าผ่าปลาจะดิ้นทุรนทุรายอย่างแรง
ซึ่งจะทำให้หลังหัก
-จากการที่ปลากระโดดออกจากบ่อหรือวิ่งชนตู้ปลาอย่างแรง
ทำให้หลังหัก
|
14.
โรคแพ้ความเค็มของบ่อปูน
อาการ
ผิวปลาจะเป็นผื่นแดง
(Bloodshot)
ปลาจะซึมลงไม่ยอมว่ายน้ำ
และหากเป็นมากอาจ
ถึงตายได้
สาเหตุ
เกิดจากการย้ายปลาลงบ่อปูนที่สร้างใหม่
หรือมีน้ำผสมปูนหลงเหลืออยู่
โดยเมือกของ
ผิวปลาโดนด่างในปูนกัด
จนหมดภูมิต้านทานจากเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ
จึงทำให้ผิวหนังอักเสบ
วิธีป้องกันและรักษา
-ย้ายปลาออกจากบ่อโดยเร็ว
-การรักษายังไม่มีการรับรองผล
-บ่อปูนที่สร้างเสร็จใหม่
ๆ ควรแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3วัน
แล้วถ่ายน้ำทิ้งเสีย
หรืออาจใช้มะขามเปียก
|
15.
โรคตกเลือดจากเชื้อแบคทีเรีย
(Bacterial hemorrhagic septicemia)
อาการ
ปลาจะมีอาการตกเลือดทั้งภายนอกและภายในลำตัว
บางครั้งจะพบว่ามีอาการบวมบริเวณ
ท้องและตา
มีน้ำเหลืองในช่องท้องเป็นแผลเน่าบริเวณลำตัวเป็นแห่ง
ๆ เหงือกจะเน่า
ไตอักเสบ พบมากในปลา
เลี้ยงทั่วไป
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคือ
Aeromonus hygrophila และ Pseudomonas spp.
วิธีป้องกันและรักษา
-รักษาได้ด้วยยาปฎิชีวนะบางชนิดในระยะอาการเริ่มแรกเท่านั้น
|
16. โรคลำไส้อักเสบ
อาการ
มีมูกเลือดในขี้ปลา
หรือปลาถ่ายเป็นน้ำขุ่น
ๆ ปลาไม่ค่อยกินอาหาร
บางครั้งขี้ปลาเป็นเม็ด
แข็งสีดำเข้ม
สาเหตุ
เกิดจากการให้อาหารเก่าหรือเน่าเสีย
หรือมีเชื้อรา
วิธีป้องกันและรักษา
-ให้แต่อาหารที่แน่ใจว่าเป็นอาหารดีและใหม่
อย่าให้อาหารแปลก ๆ
แก่ปลา
|
สารเคมี
|
สรรพคุณ
|
วิธีการใช้และปริมาณ
|
หมายเหตุ
|
กรดน้ำส้ม(Acetic
Acid)
|
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและพาราสิตภายนอก
|
อัตราส่วน 1:20(5%)
จุ่มนานประมาณ 1 นาที (กรดน้ำส้ม
1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน)
|
|
ยาเหลือง(Acriflarin)
|
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนไข่ปลา
(ยาเหลืองจะมีผลกระทบกระเทือนต่อเซลล์ของไข่ปลา)
|
อัตราส่วน 1:2000(500ppm.)
แช่นานประมาณ 20 นาที
|
ลักษณะเป็นผงละเอียดสีส้มแก่
เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสีแดงปนส้ม
|
ป้องกันเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการลำเลียงขนส่ง
ชั่งน้ำหนักหรือวัดขนาดปลา
|
1-3 ppm.
|
|
ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
|
10 ppm. แช่นานประมาณ
2-12 ชั่วโมง
|
|
คลอรีน(Chlorine)
|
ฆ่าเชื้อต่างๆทั้งหมด
|
10 ppm. นานประมาณ
30 นาที
|
|
ดิพเทอเร็กซ์(Dipteret)
|
ปลิงใส เห็บ หนอนสมอ
|
0.25-0.50 ppm. แช่ตลอดไปสัปดาห์ละ 1
ครั้ง นานประมาณ 4 สัปดาห์
|
|
ฟอร์มาลิน(Formalin)
|
โปรโตซัวและพาราสิตอื่นๆ
|
125-250 ppm. นานประมาณ 1
ชั่วโมงหรือ 15-40 ppm.
แช่นานตลอดไป
|
ลักษณะเป็นของเหลวใส
ไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน
มีกลิ่นฉุ่นมากควรเก็บไว้ในขวดที่ป้องกันแสงได้
ฟอร์มาลินที่จะนำมาใช้ไม่ควรมีเมทิลแอลกอฮอร์ผสมอยู่เพราะเป็นพิษกับปลา
|
โรคเชื้อรา
|
1600-2000 ppm. นานประมาณ 15 นาที
|
มาลาไคท์กรีน(Malachite
Green)
|
โปรโตซัว
|
0.1 ppm. แช่ตลอดไป
|
ลักษณะเป็นผลึกสีเขียวเหลืองละลายน้ำได้ดี
ควรเลือกซื้อมาลาไคท์กรีนชนิดที่จัดอยู่ในประเภทยา
(Medical Grade)
เพราะไม่มีสารสังกะสี
ซึ่งเป็นพิษต่อปลา
|
เชื้อรา
|
5ppm. นานประมาณ 15 นาที
|
เมทิลีน บลู
|
โรคจุดขาว (Ichth-yophthirius sp.) และโปรโตซัวชนิดอื่นๆ
|
2-5 ppm. แช่ตลอดไป
|
ลักษณะเป็นผลึกสีน้ำตาลปนแดง
เมื่อละลายน้ำจะมีสีน้ำเงิน
|
ด่างทับทิม
(Potassium Permanganate)
|
แบคทีเรียภายนอก เช่น Flexibacter
Columnaris
|
2-4 ppm. แช่ตลอดไป
เหมาะกับตู้ปลาหรือบ่อปลาที่มีน้ำสะอาดปราศจากความเป็นกรดเป็นด่าง
|
ลักษณะผลึกสีม่วงเข้ม
ละลายน้ำแล้วจะมีสีม่วง
ระหว่างการแช่ปลาจะต้องเพิ่มออกซิเจนเสมอ
คือด่างทับทิมจะทำปฏิกริยากับสารออแกนนิกที่อยู่ในน้ำ
ถ้าน้ำเป็นกรดเป็นด่างเพียงเล็กน้อยจะทำอันตรายต่อเหงือกปลา
ดังนั้นจะต้องเพิ่มออกซิเจน
|
เกลือ(Sodium Choride)
|
แบคทีเรียบางชนิด
เชื้อราพาราสิต โดยเฉพาะโปรโตซัวและหนอนสมอ
|
อัตราส่วนการใช้เกลือ 1:33
1:50(3-5%) นานประมาณ 1-2 นาที
หรืออัตราส่วน 1:200 1:100
แช่นานตลอดไป
|
ควรมีลักษณะเป็นผงหยาบสีขาว
ละลายน้ำได้ดี
หาง่ายราคาถูก
|
ใช้ในระหว่างการลำเลียงขนส่ง
ชั่งน้ำหนัก
เพื่อลดความบอบซ้ำ
ป้องกันปลาเป็นโรค
|
อัตราส่วนการใช้เกลือ 1:1000
1:2000 (0.1-0.2%) แช่ตลอดไป
|
คลอเตตราซัยคลิน
(Chortetracycline)
|
รักษาโรคจากแบคทีเรีย
Aeromonas sp. Pseudomonas sp. และ โรคจุดขาว
Ichthyophthirius sp.
|
ผสมในอาหารปริมาณ
55 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1
กก/วัน (ประมาณ 10วัน)
หรือใช้วิธีละลายในน้ำ 10-20 ppm.
แช่นานตลอดไป
|
ลักษณะเป็นผลึกมีสีเหลืองทำปฏิกริยาเป็นด่างอย่างอ่อนละลายน้ำได้ดี
เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสีค่อนข้างเหลือง
และมักเกิดเป็นฝ้าบนผิวน้ำ
|
คลอแรมเฟนิคอล
(Chloramphenical)
|
รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบทั่วไป
Aeromonas sp. โรคจุดขาว
|
ฉีดเข้าทางช่องเท้า
20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1
กก. หรือผสมในอาหารปริมาณ 55
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1
กก./วัน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน
หรือแช่ประมาณ 80 ppm.
นานประมาณ 24 ชั่วโมง
|
เป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันมาก
ไม่มีสี ละลายน้ำได้ดี
เมื่อละลายน้ำจะมี)ปฏิกริยาความเป็นกลาง
ตัวยาจะมีอายุประมาณ 3 ปี
ดังนั้นซื้อยาควรดูวันหมดอายุก่อน
|
โรคเชื้อรา
(Cotton Wool Diseases)
และใช้ได้ผลดีในการรักษาโรค
Dropsy
ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
|
ออกซี่เตตราซัยคลิน
(Oxytetracycline)
|
รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย
แกรมลบทั่วไป
|
ฉีดเข้าทางช่องท้องประมาณ
30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1
กิโลกรัม
หรือผสมในอาหารปริมาณ 55
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1
กก./วัน หรือแช่ปริมาณ 10/20 ppm.
นานประมาณ 24 ชั่วโมง
|
|
ฟิวราเนส
(Furanace)
|
รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย
Aeromonas sp. และ
Vifrio sp.
|
ผสมในอาหารปริมาณ
0.5-1 กรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน
นานประมาณ 10-14
วัน หรือแช่ประมาณ 1:500000
(2 ppm.) ประมาณ 1
ชั่วโมง
|
|