กําลังส่ง 1 W สามารถออกอากาศได้ 100 W    
มิเตอร์วัดกําลังส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารชนิดมือถือ    
วิธีอ่านสเป็คเครื่องวิทยุรับ/ส่ง    
เปรียบเทียบ Spacification Mobile Radio    


 

เครื่องวิทยุรับ / ส่ง ชนิดมือถือ
กําลังส่ง 1 W สามารถออกอากาศได้ 100 W

     คงเป็นที่ทราบกันนะครับว่าเครื่องวิทยุสื่อสารชนิดมือถือ ทางกรมไปรษณีย์อนุญาติให้ใช้กําลังส่งได้สูงสุดคือ 5 W ส่วนเครื่องวิทยุรับ / ส่ง ชนิดติดตั้งประจําที่ ( โมบาย ) อนุญาติให้ใช้กําลังส่งได้สูงสุด 10 W หากแต่เพื่อน ๆ คงทราบกันแล้วว่า การติดต่อสื่อสารในบางสถานที่อาจทําให้เราได้รับสัญญาณของเพื่อนคู่สนทนาไม่ดี โดยอาจจะมาจากโลเกชั่น หรือ อาจจะมาจากด้านระยะทางของสถานีรับ / ส่ง ซึ่งอาจจะอยู่ไกลกัน หากเพื่อน ๆ ต้องการที่จะติดต่อสนทนาด้วยก็จําเป็นที่จะต้องใช้กําลังส่งที่สูง ซึ่งอาจจะทําให้ผิดกฎของกรมไปรษณีย์ได้

     
วันนี้ผมจึงขอแนะนําเกี่ยวกับเรื่องการขยายสัญญาณโดยที่ยังใช้กําลังส่งที่ตํ่า ( 1 W ) อยู่ในเกณฑ์ที่กรมไปรษณีย์อนุญาติ แต่สามารถสร้างเกนขยายเมื่อออกที่ปลายสายอากาศส่ง ได้ถึง 100 W ตามที่เพื่อน ๆ ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เกนขยายที่เพื่อน ๆ ใช้มีหน่วยวัดเป็น dB ซึ่งโดยมากมักจะใช้ตํ่าสุดอยู่ที่ประมาณ 3 dB ( สายอากาศประเภท 5/8 แลมด้าชั้นเดียว ) และโดยทั่ว ๆ ไปที่เพื่อน ๆ จัดหามา หรือสร้างขึ้นมักจะมีเกนขยายอยู่ในช่วง 3 - 9 dB มีทั้งที่เป็นสายอากาศรอบตัว กึ่งทิศทาง(โฟลเด็ดไดโพล)และสายอากาศประเภททิศทาง (ยากิ) ผมก็เลยถือโอกาสเสนอค่ากําลังขยายของเสาเป็น dB ต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบดูว่าจะได้กําลังส่งกี่เท่าของกําลังส่งเดิม

     
จากสูตร
                     

กําลังขยาย ( ในหน่วย dB ) = 10 log ( กําลังส่ง 1 / กําลังส่ง 2 )


     
เมื่อเอากําลังส่งที่ออกจากสายอากาศหารด้วยกําลังส่งที่เครื่องส่งมา ถอดลอการิธึมแล้วคูณด้วย 10 ก็จะได้กําลังขยายในหน่วย dB ที่ต้องการ ดังนั้นหากเพื่อน ๆ ออกแบบจัดสร้างสายอากาศที่มีค่า dB สูง ๆ เพื่อน ๆ ก็จะสามารถคํานวณได้ว่า กําลังส่งที่ออกจากสายอากาศที่ท่านออกแบบสร้างนั้นจะออกอากาศได้กี่วัตต์

 

กําลังขยายของสายอากาศ ( dB )

กําลังออกอากาศ ( W ) เมื่อส่ง 1 W

1

1.3

2

1.6

3

2.0

4

2.5

5

3.2

6

4.0

7

5.0

8

6.3

9

7.9

10

10.0

11

12.6

12

15.8

13

20.0

14

21.5

15

31.6

16

39.8

17

50.1

18

63.1

19

79.4

20

100.0

 

จากตารางที่ให้มานี้จะเห็นได้ว่า หากเพื่อน ๆ จัดสร้างสายอากาศที่มีเกนขยายของการแพร่กระจายคลื่นสูงถึง 20 dB เพื่อน ๆ ก็จะได้กําลังในการออกอากาศที่ปลายสายอากาศสูงถึง 100 W ด้วยเพียงแค่เพื่อน ๆ มีเครื่องวิทยุรับ / ส่ง ชนิดมือถือ แล้วออกอากาศเพียงแค่กําลังส่งระดับตํ่า ( 1 W ) ดังนี้แล้วเพื่อน ๆ ก็ไม่จําเป็นที่จะต้องใช้กําลังส่งสูง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารกับคู่สถานีอื่น ๆ ให้ผิดกฎกรมไปรษณีย์ หากแต่ตารางที่ให้มานี้ยังมีข้อจํากัดที่ค่าสูญเสียในสายนําสัญญาณ ซึ่งผมจะนํามาแนะนําในครั้งต่อ ๆ ไป
 

*** กลับข้างบน ***

 


มิเตอร์วัดกําลังส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารชนิดมือถือ

        มีอยู่บ่อยครั้งไหมครับที่เพื่อน ๆ อยากรู้ว่าเครื่องวิทยุสื่อสารชนิดมือถือที่เพื่อน ๆ ใช้กันอยู่มีกําลังในการส่งออกอากาศตรงตามสเปกของมันหรือไม่ หรือว่าเมื่อแรงดันแบตเตอรี่อ่อนลงกําลังส่งจะตกลงเท่าใด มิเตอร์วัดกําลังส่งเป็นเครื่องมือที่สามารถบอกให้กับเพื่อน ๆ ได้ เพราะเพียงแค่ไม่กี่วินาทีเพื่อน ๆ ก็สามารถที่จะอ่านค่ากําลังส่งของเครื่อง
วิทยุสื่อสารของเพื่อน ๆ ได้แล้ว การจัดสร้างก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรครับ มาลองดูแบบของนายเฮนรี่ เนเบน นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน เจ้าของสัญญาณเรียกขาน W9QB ดูครับว่าเค้าทํากันอย่างไร

  
     W9QB เขาเคยนําบทความเกี่ยวกับ มิเตอร์วัดกําลังส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารชนิดมือถือ ออกเผยแพร่ในวารสาร QST ซึ่งเป็นวารสารที่พิมพ์ในประเทศอเมริกา โดยเขาแนะนําว่า มิเตอร์วัดกําลังส่งตัวนี้ ประกอบด้วยค่าความต้านทานค่า 50 โอห์ม ที่ทําหน้าที่เป็น " ดัมมี่โหลด " แล้วก็มีวงจรสําหรับวัดแรงดันคร่อมตัวต้านทานเหล่านี้ ซึ่งค่าแรงดัน
นี้จะมีค่าสัมพันธ์กับกําลังส่ง จึงสามารถใช้ดูเพื่อเปรียบเทียบว่ากําลังส่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ แต่หากเพื่อน ๆ ต้องการเครื่องวัดกําลังส่งที่มีความแม่นยําแล้ว W9QB แนะนําว่าให้ผ่านวงจรนี้ไปเลย ความต้องการของ W9QB นั้นต้องการที่จะจัดสร้างมิเตอร์วักําลังส่งขึ้นเพื่อที่จะใช้กับเครื่องวิทยุสื่อสารยี่ห้อ Kenwood รุ่น TR - 2500 ชนิดมือถือ ซึ่งมีภาวะกําลังส่ง Hing เป็น 2.5 W ตามสเปกที่ได้มา ดังนั้น W9QB จึงได้ออกแบบวงจรดังรูป


          โดยให้ R ทําหน้าที่เป็นดัมมี่โหลดที่มีค่าความต้านทาน 50 โอห์ม ตามค่าที่ให้ไว้นี้หากคํานวณออกมาจะได้ค่าเท่ากับ 49.5 โอห์ม ซึ่งนับได้ว่าใกล้เคียงพอสมควร และสามารถทนรับกําลังส่งได้ถึง 3 วัตต์ ในกรณีที่เพื่อน ๆ ต้องการที่จะดัดแปลงไปใช้กับเครื่องวิทยุสื่อสารที่มีกําลังส่ง 5 วัตต์ ก็อาจจะใช้ค่า R เป็นตัวต้านทานที่มีค่า 510 โอห์มจํานวน 10 ตัวมาขนาดกันแทนก็ได้      การจัดสร้างก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยเพื่อความสะดวกสําหรับการต่อเข้าเครื่องวิทยุรับ / ส่ง ชนิดมือถือโดยที่ไม่ต้องต่อผ่านสายนําสัญญาณชนิดโคแอคเชียลตาแบบจึงใช้ขั้วต่อชนิด BNC ตัวผู้ ทําให้ต้องเจาะตัวกล่องที่ใช้ประกอบอุปกรณ์ให้ใหญ่พอที่จะใส่ขั้วต่อ BNC โดยที่กล่องใส่อุปกรณ์นั้นจะทํามาจากอลูมิเนียมพื่อป้องกันมิให้คลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นไฟฟ้าต่าง ๆ รอบสถาที่ใช้วัดเข้าไปกวนอุปกรณ์ได้ แล้วเจาะรูเล็ก ๆ 6 รูรอบ ๆ ตัวน็อตเพื่อใช้เป็นที่พักสายของตัวความต้านทานหลังจากยึดขั้ว BNC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้บัดกรีลวดตรงกลางพร้อมฉนวนชั้นในของสายนําสัญญาณโคแอคเชียลเบอร์ RG - 58/U เข้ากับเข็มกลางของขั้ว BNC เสร็จแล้วใส่ฉนวนภายนอกของสายโคแอคเชียลมาหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ( โดยไม่มีชีลด์อยู่ด้วย ) ดังนั้นก็จะได้สายโคแอคเชียลที่ไม่มีชีลด์ออกมาเพื่อต่อเข้ากับปลายขาของ ตัวต้านทานค่า R ในการสร้างจะต้องพยายามให้สายต่าง ๆ สั้นที่สุดเพื่อลดผลของการเหนี่ยวนําด้านไฟฟ้า และประจุไฟฟ้าแฝงที่อาจจะเกิดขึ้น     มิเติร์ที่ใช้เป็นขนาด 0 - 100 มิลิแอมป์ แบบถูก ๆ ที่เราสามารถจะหาได้ อาจจะใช้เป็น VU มิเตอร์ที่หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าแถว ๆ บ้านหม้อมาแทนได้ สําหรับของต้นแบบ W9QB ถอดเอาหน้าปัดมาเขียนเป็นสเกลใหม่ตามรูป


ภายในมิเตอร์วัดกําลังส่ง


         โดยแบ่งออกเป็นช่องเท่า ๆ กัน แต่ต่อเพิ่มมานึกขึ้นได้ว่าการแบ่งสเกลแบบนี้ผิดเพราะควรจะต้องแบบและเขียนเป็นแบบลอการึทึมและควรเขียนขึ้นจากการปรับแต่งเปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดตัวอื่น ๆ แต่ถ้าไม่ต้องการอ่านค่ากําลังส่งที่แท้จริงแล้ว ให้ต่อเครื่องวิทยุรับ / ส่ง ชนิดมือถือ เข้ากับมิเตอร์วัดกําลังส่ง แล้วลองส่งออกอากศที่อยู่ในขณะกำลังไฟแบตเตอรี่เต็ม แล้วปรับค่าตัวต้านทาง 100 กิโลโอห์ม จนเข็มชี้ที่ประมาณ 80 % ของสเกล ขีดเครื่องหมายบนสเกลที่ตําแหน่งนี้ไว้ใช้เปรียบเที่ยบในโอกาสต่อไปว่าค่ากําลังส่งจะลดลงหรือไม่ ซึ่งสามารถใช้วัดค่ากําลังส่ง และประจุของแบตเตอรี่ได้ในเวลาเดียวกัน เพราะหากค่าที่เพี้ยนผิดไปจากเดิมอาจจะมาจากสาเหตุของการเก็บประจุไฟของแบตเตอรี่ก็เป็นได้ แต่หากเพื่อน ๆ ต้องการอ่านค่าของกําลังส่งบนหน้าปัดเลย ให้เปรียบเทียบกับเครื่องวัดกําลังส่งตัวอื่น ๆ ที่เชื่อถือได้โดยทําการทดลองที่ระดับกําลังส่งที่ต่างกัน เพื่อสร้างสเกลบนหน้าปัดให้เป็นมาตราฐานสําหรับการวัดในครั้งต่อ ๆ ไป โดยที่ค่าเต็มสเกลบนเครื่องวัดต้นแบบก็จะอยู่ที่ 3 วัตต์โดยหมุนตัวต้านทาน 100 กิโลวัตต์     จากผลการทดลองของ W9QB ในห้องปฏิบัติการของ ARRL พบว่า SWR ที่อ่านได้จากมิเตอร์วัดกําลังส่งจะน้อยกว่า 1.2 : 1 จนถึงความถี่ประมาณ 350 MHz

*** กลับข้างบน ***


วิธีอ่านสเป็คเครื่องวิทยุรับ/ส่ง

            หลายท่านหลายคนคงปัญหาว่า "อยากได้เครื่องวิทยุสื่อสารสักครั้งหนึ่งไว้ใช้งาน" จะเลือกรู่นไหนกันดี คิดแล้วคิดอีกจนหน้าปวดหัว เครื่องดีๆ หน่อยราคาก็สูง คุณภาพต่างๆ ของแต่ละรุ่นจะเป็นอย่างไรนั้น สำหรับคนที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นมานานก็คงได้เคยใช้เครื่องหลายๆ รุ่น อันนี้คงไม่มีปัญหาในการพิจารณาสักเท่าไหร่ แต่สำหรับนักวิทยุสมัครใหม่ๆ จะเลือกเครื่องสักเครื่องก็ต้องถามจากผู้ที่เคยใช้มาก่อนว่า รุ่นนี้เป็นยังไง ใช้ดีไหม เรื่องอะหลั่ยเป็นไง ราคาประมาณเท่าไหร่ เป็นคำถามยอดฮิตของผุ้ที่ต้องการจะเครื่องวิทยุฯ สักเครื่องไว้ใช้งานเป็นเครื่องแรก

 

วันนี้ก็เลยจะขอเสนอวิธีการอ่านสเป็คเครื่องวิทยุรับ/ส่ง เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกซื้อหามาใช้สักเครื่อง นอกจากจะพิจารณาเรื่องยี่ห้อแล้ว ใครที่ซื้อเครื่องวิทยุสื่อสารเคยนำคุณลักษณะของเครื่องมาเปรียบเทียบกันหรือไหม เราลองมวดูกันดีกว่าว่ามีคุณลักษณะของเครื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้จัก

 

     

 

วิธีอ่านคุณลักษณะของเครื่อง

GENERAL คุณลักษณะทั่วไป

TRANSMITTER ภาคส่ง

RECEIVER ภาครับ

Frequency coverage
ความถี่ที่สามารถใช้งานได้

Output power
กำลังส่งออกอากาศ

Receive system
ระบบภาครับสัญญาณ

Mode
ประเภทของการผสมคลื่น

Modulation system
ระบบการผสมคลื่น

Intermediate frequancy
ความถี่กลาง IF

Frequency stability
ความเที่ยงตรงของความถี่

Max. Frequancy deviation
ความเบี่ยงเบนของความถี่สูงสุด

Sensitivity
ความไวภาครับ ค่าน้อยจะรับได้ดี
(ความสามารถในการรับสัญญาณอ่อนๆ ได้)

Antenna impedance
อิมพีแดนซ์ของสายอากาศ (50 Ohm)

Spurious emission
ความถี่แปลกปลอม

Squelch sensitivity
ความไวของวงจรสเควลซ์
(ความแรงของสัญญาณที่เปิดวงจรสเควลซ์)

Usable temperature range
อุณหภูมิที่สามารถใช้งานได้

Microphone impedance
อิมพิแดนซ์ของไมโครโฟน

Selectivity
ความสามารถในการเลือกรับเฉพาะความถี่

Turning steps
ความถี่ในแต่ละระดับของการปรับ

Heatsink duty cycle
ประสิทธิภาพของการระบายความร้อน

Spurious response rejection
การกำจัดความถี่แปลกปลอม

Dial select steps
สะเต็ปของการปรับหมุนหาคลื่น

 

Audio output power
ความดังของเสียงลำโพง

Number Of memory channels
จำนวนช่องความจำ

 

Audio output impedance
ค่าต้านทานของเสียงทางลำโพง

Usable battery pack or case
แบตเตอรี่แพ็คที่ใช้ได้

 

 

External DC power supply
แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายจากอุปกรณ์ภายนอก

 

 

Current drain
ความสิ้นเปลืองกระแส (A หรือ mA)

 

 

Dimentions
ขนาดมิติของเครื่อง (กว้าง x ยาว x หนา)

 

 

Weight
น้ำหนัก

 

 

*** กลับข้างบน ***

 


เปรียบเทียบ Spacification Mobile Radio

 

 
 
 
 
 


* ค่า W (RF) / W (DC) นั้นคือประสิทธิภาพของการเปลี่ยนไฟฟ้า DC เป็น RF ซึ่งผมคำนวณมาใส่ให้ดูครับ
 

อย่าลืมว่าการเลือกซื้อเครื่องวิทยุจะต้องพิจารณาเรื่องความทนทานและบริการหลังการขายด้วยนะครับ
สองข้อหลังนี้ฝรั่งไม่ได้ทดสอบให้ ต้องสอบถามจากเพื่อนสมาชิกผู้ใช้งานเอาเองครับ
 
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ บ้างครับ
 
.....73

ขออธิบายอย่างนี้ครับ เอาแบบที่เข้าใจง่ายๆก็แล้วกัน

1. Sensitivity (หน่วย uV หรือ dBm นั้นก็คือค่าเดียวกัน เพียงแต่อ้างอิงคนละหน่วย)  คือค่าความแรงของสัญญาณตำที่สุดที่เครื่องรับ รับแล้วสามารถให้สัญญาณเสียงออกมาได้ที่ค่ามาตราฐานค่าหนึ่ง เพื่อที่จะให้เอามาเทียบกันได้ในการวัดแต่ละครั้ง  (ที่ปกติเรียกตาม spec เขียนกันว่า 12 dB@ SINAD)  นั่นคือเครื่องรับจะต้องรับและให้เสียงออกมา ค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดีแต่ไม่ต้องซีเรียสมากถ้าไม่ได้ตั้งเสาสูงหรือกะจะเอาไปทำ DX หรือ EME
 
2. S- meter sensitivity ตัวนี้ QST ใช้คำที่ค่อนค้างจะงงๆ จริงๆแล้วคือมันค่าที่บอกว่าเมื่อ S-meter ค่าแสดงเท่ากับ แล้วค่าความแรงสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นเท่าไหร่ เหตุที่ไม่วัดที่ค่า full scale หรือสูงกว่านี้ ผมเข้าใจว่าแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ เกินจากนี้แล้วอาจจะมีขีดขึ้นไปไม่เท่ากัน ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็น S9+20 dB, S9+40 dB เสมอก็เลยวัดเอาที่ S9  เจ้าค่าตัวนี้แหละครับที่บอกว่า S-meter อ่อนหรือแข็ง ถ้าค่ามากก็จะขึ้นเต็มยากกว่าค่าน้อยเพราะต้องการสัญญาณที่แรงขึ้น
 
3. Squelch  sensitivity อันนี้คือค่าความแรงสัญญาณที่ต่ำที่สุดที่สามารถตั้งได้และทำให้ Squelch เปิดมีเสียงออกมาได้ จะต่างจาก sensitivity ข้อที่ 1. ตรงที่ว่า Sensitivity ในข้อที่1. นั้นจะต้องรับและให้เสียงออกมาถึงค่ามาตราฐาน แต่ Squlech sensitivity นั้นวัดเอาแค่ Squelch เปิด สังเกตได้ว่าค่าของ Squelch sensitivity นั้นจะต่ำกว่า sensitivity ในข้อ 1.     ตัวนี้ผมคิดว่าค่าน่าจะยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะถ้าจะเอาสัญญาณแรงๆ ให้ Squelch เปิดนั้น เราสามารถตั้ง Squelch ได้อยู่แล้ว
 
ขอตัวไปทำงานก่อนนะครับ แล้วจะกลับมาตอบเรื่อง rejection อีกครั้งหนึ่ง
 
หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆบ้างนะครับ..73

 

กลับมาที่เรื่องของ Rejection ของเราดีกว่าครับ ความหมายกว้างๆ ของ rejection ก็คือความสามารถในการกำจัดสัญญาณที่ไม่ต้องการออกไปในวงจรภาครับ อาจเป็นสัญญาณที่เกิดจากภายนอกหรือสัญญาณที่เกิดจากการทำงานภายในวงจรของเราเองก็ได้ ดังนี้  
1. Adjacent  channel rejection อันนี้หมายถึงความสามารถในการเอาสัญญาณของช่องข้างๆ กับความถี่ที่เราตั้งไว้ออกไปจากสัญญาณที่เราตั้งใจจะรับ ซึ่งจะวัดที่ 2st IF เนื่องจากฝรั่งนั้นความห่างระหว่างช่องของเขาไม่เหมือนบ้านเรา และ band ความถี่ก็กว้างกว่า ดังนั้นเขาจะวัดที่ 20KHz ห่างจาก 146.00 MHz ว่าถ้าตั้งความถี่ไว้ที่ 146.00 แล้วมีสัญญาณส่งมาที่ 146.02 MHz แล้วสัญญาณนั้นจะรั่วเข้าไปถึง 2nd IF ด้วยความแรงที่ลดลงเท่าไหร่  ค่านี้ยิ่งมากยิ่งดีครับ จะป้องกันการกระโดดข้ามช่องเข้ามารบกวนได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่าความถี่และระยะห่างระหว่างช่องที่ทำการทดสอบจะต่างจากการใช้งานในบ้านเราไปบ้าง แต่ก็พออนุโลมเปรียบเทียบกันไปได้  
2. IF rejection และ Image rejection อธิบายรวมกันเลยก็แล้วกัน ถ้าใครยังจำข้อสอบสมัยสอบวิทยุสมครเล่นขั้นต้นได้บ้าง จะนึกออกว่าวิทยุสื่อสาร VHF ที่เราใช้กันนั้นส่วนใหญเป็นแบบ  double coversion Superheterodyne  นั่นคือจะต้องใช้ความถี่จาก local OSC มาผสมกับสัญญาณที่รับได้ ซึ่งผลที่ได้คือ สัญญาณที่ต้องการ (ความถี่ IF) และสัญญาณอื่นๆที่เกิดขึ้นแต่เราไม่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการรับความถี่ 145.00 MHz และความถี่ 1st IF คือ 21.7 MHz ดังนั้นความถี่จาก local OSC ที่จะใช้คือ145.0 + 21.7 = 166.7 MHz ซึ่งในการทำงานจริงเมื่อ เอาความถี่ 145.0 มารวมกับ 166.7 ก็จะได้ความถี่ 21.7 MHz และความถี่ขยะอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเราไม่ต้องการและจะต้องไปกรองทิ้ง ก่อนที่จะเอาความถี่ 1st IF ที่ 21.7 MHz ไปผสมต่อกับกับ 22.155 MHz เพื่อให้ ได้ 2nd IF ที่ 455 KHz ซึ่งก็จะมีความถี่ขยะที่เกิดขึ้นตามมาและต้องกรองทิ้งอีก ซึ่งในตอนนี้จะรวมถึงความถี่ 1st IF ที่ผ่านเข้ามาด้วย  
เอ...ชักจะอธิบายยาวไปหน่อยแล้ว เดี๋ยวจะไปกันใหญ่ เอาเป็นว่าความสามารถในการลดความถี่ขยะที่กล่าวมาข้างบนนั้นคือ image rejection  ส่วนความสามารถในการกำจัด 1st IF ที่รั่วเข้ามาที่ 2nd IF คือ IF rejection นั่นเอง ค่าพวกนี้ยิ่งมากยิ่งดีครับเพราะจะกรองสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นทิ้งไปได้มากขึ้น ยิ่งในการรับสัญญาณอ่อนๆ จะเห็นผลได้ชัดเจนมากขึ้น โดยปกติผู้ผลิตจะระบุไว้ > 70 dB เป็นอย่างน้อย  ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นกับ se;ectivity ของ IF filter เป็นหลัก เพื่อนๆ ลองเปรียบเทียบกันเองนะครับรุ่นไหนเป็นอย่างไร ส่วนค่าอื่นๆ น่าจะคุ้นเคยกันมาแล้ว เลือกเครื่องให้เหมาะกับความต้องการของเราเป็นดีที่สุดครับ  
ขอแจมความหมายของ Image Rejection ครับ
ต่อจากตัวอย่างที่อธิบายไว้

3. IF rejection และ Image rejection  ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการรับความถี่ 145.00 MHz และความถี่ 1st IF คือ 21.7 MHz ดังนั้นความถี่จาก local OSC ที่จะใช้คือ145.0 + 21.7 = 166.7 MHz ซึ่งในการทำงานจริงเมื่อ ...
ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการรับความถี่ 145.00 MHz และความถี่ 1st IF คือ 21.7 MHz ดังนั้นความถี่จาก local OSC ที่จะใช้คือ 145.0 + 21.7 = 166.7 MHz และความถี่ที่ Mixed กับ 166.7 MHz แล้วจะได้ 21.7 MHz ก็มีอีกคือ 166.7+21.7 = 188.4 MHz ซึ่งเป็นย่านทีวี VHF ครับ ถ้าหลุดเข้ามาได้จะรบกวนตลอดเวลา(คีย์ยาว มัดหนังติ๊ก) ฉะนั้น Image Rejection จะได้ดีมีค่าสูงๆ Filter ในภาค Front-End ต้องออกแบบมาดีๆ ป้องกันความถี่ Image เข้ามาถึง Mixer ครับ
 

*** กลับข้างบน ***